24 มีนาคม 2565

สายพานลำเลียงและ รถ agv

 สายพานลำเลียง

ระบบสายพานลำเลียง คืออะไร ?
            ระบบสายพานลำเลียง คือ เครื่องจักรที่ใช้ในการลำเลียงวัตถุจากจุดๆ หนึ่งไปยังจุดอื่นๆ ด้วยสายพาน ระบบสายพานลำเลียง = เครื่องจักร + สายพาน + ใช้เพื่อลำเลียง
            นอกจากนี้ยังมีระบบสายพานแบบอื่นๆ อีกมากมาย โดยแต่ละแบบจะมีชื่อเรียกที่ต่างกันไปตามรูปลักษณ์ และวัสดุที่ใช้ เช่น
      -Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงแบบทั่วไป คือใช้สายพานในการลำเลียง
      -Mini Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ใช้สายพานเป็น PVC หรือ PU
      -Rubber Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานที่มีวัสดุเป็นยางสีดำ
      -Roller Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียง ที่ไม่ใช้สายพาน แต่จะใช้เพียงแค่ลูกกลิ้งเพื่อลำเลียงสินค้า
      -Top Chain Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้โซ่พลาสติก หรือโซ่สเตนเลสมาใช้แทนสายพาน
      -Wire Mesh Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่นำตะแกรงโลหะมาใช้แทนสายพาน
      -Modular Belt Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นพลาสติกชนิดพิเศษทนทานสูง
      -Overhead Conveyor คือ ระบบสายพานลำเลียงที่จะลำเลียงวัตถุไว้ที่ความสูงระดับเหนือศรีษะขึ้นไป

รถ AGV
รถ AGV 
             คืออะไร รถ AGV (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า รถขนส่ง อัตโนมัติ มีระบบควบคุมเส้นทาง และ นำทางการขับเคลื่อนด้วยการเหนี่ยวนำของสนาม แม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบ ควบคุมโดยการตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ ด้วยการประมวลผลควบคุมการทำงาน โดยไมโคร- คอนโทรลเลอร์

ประโยชน์ของรถ AGV
         รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ (Automated Guided Vehicles)
         รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (AGV)
            เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น
             ส่วนประกอบของการนำทางของ AGV ประกอบด้วยตัวนำทิศทางระบบซึ่งปล่อยรถออกและควบคุมการนำทาง  การติดต่อกับรถทำได้โดยลวดนำทางซึ่งฝังไว้ใต้พื้น  ตัวนำระบบถูกติดต่อกับรถทั้งหมดตลอดเวลา แต่ละคันมีความถี่นำทางของมันเองและตามลวดนำทางไปกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensor) ความถี่การติดต่อระดับสูงกว่าถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตัวนำระบบกับแผงคอมพิวเตอร์ (on-boardcomputers) ดังนั้นตัวนำระบบจะได้รับการแจ้งตลอดเวลาเกี่ยวกับตำแหน่งและสภาวะของการยกของรถ  ตำแหน่งของรถสามารถแสดงได้บนสถานี(terminal) วัสดุซึ่งอยู่บนรถถูกกำหนดโดยการอ่านสัญลักษณ์บาร์โค๊ด (barcode) และข่าวสารถูกถ่ายทอดไปโดยช่องของข้อมูลไปยังตัวนำระบบ  การเดินทางของรถทั่วทั้งโรงงานถูกกำหนด ณ จุดยุทธศาสตร์เนื่องจากผลตอบสนองในพื้นและตัวรับในรถ ณ จุดที่กำหนดรถได้รับคำแนะนำในการติดตามเส้นทางที่ให้ไว้            หน้าที่ที่จำเป็นของตัวนำระบบมีดังนี้
            1. การเลือกของรถและการจัดการกับรถที่ว่าง
            2. การควบคุมของการจัดสรรลำดับของรถ
            3. การเก็บข้อมูลของตัวขนถ่าย
            4. การควบคุมของทิศทางที่ถูกต้อง

      ส่วนประกอบของ AGV
            1. ส่วนของตัวรถ
            2. ส่วนของตัวตรวจเช็คเส้นทาง (Guided sensor)
            3. ส่วนของตัวตรวจเช็คความปลอดภัย (Safety sensor)
            4. ส่วนของต้นก าลัง (Motor)
            5. ส่วนของไฟฟ้ าภายในตัวรถ (Power supply)
            6. ส่วนของอิเล็กทรอนิกส์ก าลัง (Power electronics)
            7. ส่วนของตัวควบคุม (Controller)
      ระบบการนำทางและวางแผนเส้นทาง
          จากการช่วยของโมดูล (module) การนำทางและการวางแผนเส้นทางรถสามารถคำนวณเส้นทางของมันตามพื้นโรงงาน มันจะพยายามวางแผนเส้นทางที่น่าพอใจมากที่สุดระหว่างตำแหน่งเริ่มและตำแหน่งเป้าหมายและมันพยายามที่จะอยู่บนเส้นทางนั้น  หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางและการชนที่เป็นไปได้  ระบบการนำทางต้องถูกปรับปรุงในการใช้งาน  บ่อยครั้งงานง่ายๆในระบบการเก็บวัสดุสามารถที่จะแก้ไขได้โดยการคำนวณคงที่ (dead  reckoning) ของรถจากจุดเริ่มถึงจุดเป้าหมาย
           1. ที่ระดับการวางแผน  ผู้วางแผนวาดเส้นทางที่เป็นไปได้และไม่มีการชนเกิดขึ้นโดยการใช้อัลกอริทึมที่ชาญฉลาด (expert  knowledge) อย่างไรก็ตาม ณ จุดเริ่มต้นรถต้องคำนวณจุดเริ่มของมัน  สิ่งนี้ทำโดยเริ่มตรงที่รู้โดยตัวตรวจรู้ (sensor) ผู้วางแผนอาจจะลองค้นหาเพื่อเจอแผนที่ดีที่สุด  ตามเงื่อนไขของการพึงพอใจมากที่สุดแล้วอาจจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดหรือเส้นทางที่มีสิ่งกีดขวางอยู่น้อยที่สุด
            2. ที่ระดับการนำทางมีโมดูล (module) การวางแผนท้องถิ่นซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับเส้นทาง  วัตถุของมันและสิ่งกีดขวางที่เป็นไปได้  การวางแผนที่ดีของการนำทางถูกทำบนพื้นฐานของแผนซึ่งถูกร่างจากระดับก่อนหน้านี้  ดังนั้นสภาวะท้องถิ่นทั้งหมดอาจจะถูกพิจารณามันเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าใจสิ่งกีดขวางที่ไม่รู้โดยการใช้ตัวตรวจรู้(sensors)และรายงานสภาวะที่ไม่ปกติให้กับระบบวางแผนปัญหาทั้งหมดต้องถูกพิจารณาเพื่อการวางแผนในอนาคต
             3. ที่ระดับการขับเป็นสิ่งที่ถูกกระทำเป็นหน้าที่การควบคุมเบื้องต้นของรถ  สำหรับการวางแผนเส้นทางเดิน  แผนที่ของโลกถูกใช้ในการแสดงเส้นทางที่จะเดินทางในรายละเอียด  สำหรับการปฏิบัติการง่ายๆแผนที่สองมิติก็เพียงพอสำหรับเส้นทาง  ทางแยกย่อยแลทางตัด  กับการช่วยของแผนที่ส่วนของเส้นทางถูกคำนวณ
        ประโยชน์ที่ได้รับ
- ลดต้นทุนการผลิต
- มีการวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- บริหารบุคลากรได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
- ลดอุบัติเหตุ
 


การส่งกำลังโดยใช้สายพาน
สายพาน (Belts)
           การส่งกำลังด้วยสายพานเป็นการส่งกำลังชนิดแบบอ่อนตัวได้ซึ่งมีข้อดีข้อเสียหลายอย่าง เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการส่งกำลังแบบเฟืองและการส่งกำลังแบบโซ่ ข้อดีคือ มีราคาถูกและใช้งานง่าย รับแรงกระตุกและการสั่นสะเทือนได้ดี ขณะใช้งานไม่มีเสียงดัง เหมาะสำหรับการส่งกำลังระหว่างเพลาที่อยู่ห่างกันมาก ๆ และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาค่อนข้างต่ำ อย่างไรก็ตามข้อเสียของการขับด้วยสายพานก็มี คือ อัตราการทดที่ไม่แน่นอนนักเนื่องจากการสลิป (Slip) และการครีฟ (Creep) ของ สายพานและต้องมีการปรับระยะห่างระหว่างเพลาหรือปรับแรงดึงในสายพานระหว่างการใช้งาน นอกจากนั้นยังไม่อาจใช้งานที่มีอัตราทดสูงมากได้

หน้าที่สายพาน
          สายพานในปัจจุบันใช้สำหรับส่งกำลัง การเคลื่อนที่และส่งถ่ายสิ่งของในรูปแบบต่าง ๆ สายพานถูกออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน ที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ สายพานวี สามารถส่งกำลังได้ดีกว่าสายพานแบบอื่น ๆ และมีราคาถูก ส่วนสายพานชนิดอื่นก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ชนิดของสายพาน
ชนิดของสายพานเราสามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด ด้วยกันคือ
1. สายพานแบน (Flat Belts)
แสดงลักษณะของสายพานแบน (Flat Belts)
         สายพานแบน เป็นอุปกรณ์อีกชนิดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ใช้ในการส่งถ่ายกำลังจากพูลเลย์ของเพลาขับไปยังพูลเลย์ของเพลาตาม (เป็นอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่เราต้องการให้เกิดการทำงาน เช่น ปั๊มน้ำ  หรือ พัดลม เป็นต้น) โดยกำลังที่ส่งถ่ายจะขึ้นอยู่กับตัวแปรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- ความเร็วของสายพาน
- ความตึงของสายพานที่พาดผ่านชุดพูลเลย์
- มุมที่สายพานสัมผัสกับพูลเลย์ (Arc of Contact) โดยเฉพาะพูลเลย์ตัวที่เล็กกว่า

- สภาพแวดล้อมที่สายพานนั้นถูกใช้งาน เช่น มีความชื้นอยู่ตลอดเวลา หรือมีไอแอมโมเนีย ซึ่งจะส่งผลให้อายุของสายพานสั้นลง

2. สายพานวี (V – Belts)

หน้าที่การใช้งานสายพานวี
         สายพานส่วนใหญ่ใช้กับเครื่องจักรกลตามโรงงานต่าง ๆ สามารถส่งกำลังได้ในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ แต่ไม่สามารถส่งกำลังแบบไขว้เหมือนกับสายพานแบน ลักษณะการใช้งานของสายพานวี เช่น สายพานของเครื่องกลึง สายพานของรถไถนาเดินตาม เป็นต้น

3. สายพานกลม (Ropes Belts)

         สายพานกลมที่มีหน้าตัดเป็นรูปวงกลม การส่งกำลังด้วยสายพานกลมจะให้ความยืดหยุ่นสูงมาก และสามารถปรับตั้งทิศทางการหมุนได้หลายทิศทางตามความต้องการของผู้ใช้ สายพานกลมทำจากพลาสติกโพลียูริเทน จะต้านทานน้ำ น้ำมัน จาระบี และน้ำมันเบนซิน ขณะการทำงานจะไม่เกิดเสียงดัง

4. สายพานไทมิ่ง (Timing Belts)
         สายพานไทมิ่งมีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลียมคางหมู และจะมีฟันเฟืองตลอดความยาวของสายพาน เป็นสายพานที่มีแกนรับแรงด้วยลวดเหล็กกล้า หรือทำด้วยลวดไฟเบอร์ฝังอยู่ในยางเทียม ฟันของสายพานทำด้วยยางเทียม แต่สูตรประสมพิเศษเพื่อให้คงรูปพอดีกับล้อของพูลเลย์ ซึ่งจะหุ้มด้วยเส้นใยไนลอนเพื่อลดการสึกหรอ สายพานชนิดนี้สามารถงอตัวได้ดี ใช้กับพูลเลย์ล้อเล็ก ๆ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตรได้ เนื่องจากร่องสายพานจะมีขนาดเดียวกับบนร่องพูลเลย์ ทำให้เกิดการขบกันเหมือนฟันเฟือง จึงไม่เกิดการลื่นไถลขณะส่งกำลัง สามารถใช้เป็นตัวส่งกำลังงานในเครื่องยนต์ โดยเป็นตัวขับเฟืองเพลาข้อเหวี่ยงและเพลาราวลิ้น และจะไม่เสียงดังขณะทำงาน

ข้อแนะนำในการใช้สายพานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- การเลือกซื้อสายพานควรเลือกขนาดพร้อมกับรหัสของบริษัทผู้ผลิตที่แยกประเภทของสายพานออกไป ตามประเภทของการใช้งาน
- การเก็บรักษาควรเก็บไว้ให้เรียบร้อยพร้อมที่จะหยิบใช้งานได้อย่างสะดวก การเก็บอยู่ในสภาพอากาศที่ดีจะไม่ทำให้สายพานเสื่อมสภาพ
- การทำความสะอาดจะต้องทำความสะอาดสายพานอย่าให้มีฝุ่นละอองหรือคราบน้ำมันมาเกาะสายพาน โดยการใช้ผ้าสะอาดเช็ด
- ควรตั้งให้เพลาขับและเพลาตามวางตัวอยู่ในแนวเดียวกัน
- ระยะห่างระหว่างจุดศูนย์กลางของพูลเลย์ชุดขับและชุดตามไม่ควรห่างเกินกัน 10 เมตร และไม่ควรใกล้กันเกินกว่า 3.5 เท่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของพูลเลย์ตัวเล็ก
- ควรตั้งสายพานให้ด้านที่ตึงสายพานอยู่ด้านล่าง และให้ด้านที่หย่อนอยู่ด้านบน


18 มีนาคม 2565

สมาชิกในชั้นเรียนไฟฟ้า A

 รายชื่อสมาชิกในชั้นเรียน

ลำดับที่                รายชื่อ                                                                                       ชื่อเล่น 

                อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค                            อาจารย์ปาล์ม

    01        นายสุรพิชญ์ ศรีสุวรรณ                                                               ชาย

    02        นายสัณหวัช เพ็ชร์สวัสดิ์                                                                    โจ

    03      

    04        นายอาดีนัน โสธามาต                                                                ดีนจอ

    05        นายนัฐกิตย์ อ่อนยัง                                                                   ปิน

    06        นายปฏิพัทธ์  หนูน้อย                                                                        อิ้งค์

    07        นายบัสซัมร์ เตะมัน                                                                            บัสซัม

    08        นายศุภกฤต อุทัยพันธ์                                                                       อาร์ม

    09        นายณัฐพงศ์ ทองพิมพ์                                                               แบงค์

    10        นายณัฐวัฒน์ บุญรัตน์                                                                 ยอด

    11

    12        นายณัฐวัฒน์ ดำโอ                                                                            เฟรม

    13        นายศิวานนท์ ชมภูแก้ว                                                                      ก้าน

    14        นายเจตุพล เถี่ยวสังข์                                                                        เชน 

    15        นายสุภัทร เเก้วมี                                                                                ก้อง

    16        นายภานุ สุขสวัสดิ์                                                                    บิ๊ก

    17        นายปิยวัฒน์ เอียดมาอ่อน                                                                  วิม

    18        นายรอมฎอน เบ็ญโกบ                                                             เดือน

    19        นายเจตนิพัทธ์ บัวทอง                                                             เบียร์

    20        นายทัชมา นิยมเดชา                                                                          ยุท

    21        นายกฤษณะ ทองประศรี                                                                    ออมสิน

    22        นายกิตติศักดิ์ ละแม                                                                           ริฟ 

    23        นายกูซาฟีอี สุหลง                                                                 อี

    24        นายขจรศักดิ์ หวังเกตุ                                                                        เขตต์

    25        นายคมกฤษ กสิกรรมไพบูลย์                                                             จง

    26        นายคมศักดิ์ เอียดแก้ว                                                                       สิงห์

    27        นายฆอซาลี โต๊ะหีม                                                                 ลี

    28        นายชัยวัฒน์ พันธ์ฤทธิ์ดำ                                                            ปอ

    29        นายชาญชัย ดวงจักร์                                                                         บาส

    30        นายซอฟารีย์  เหร็มเหระ                                                                      รี

    31        นายซับรี  อาแว                                                                                    บรี

    32        นายฐิติศักดิ์ พิทักษ์                                                                             เชน

    33        นายณรงค์ฤทธิ์ นวลบุญ                                                               พุฒ

    34        นายณรงค์ศักดิ์ แกล้วทนงค์                                                         แบ็ท

    35        นายณัชพล แก้วถาวร                                                                          แม็ก

    36        นายณัฐพล ช่วยดี                                                                                ชิ

    37        นายทัตเทพ ชนิลธรชัยเลย์                                                                 เลย์

    38        นายธีรวุฒิ ขุนเจริญ                                                                             อั้น

    39        นายธีระพงศ์ รักษ์จันทร์                                                                      เอฟ

    40        นายนราวิชญ์ ช้างประเสริฐ                                                                  โดม

    41        นายนัฐพล ชะนะชัย                                                                             อั้ม

    42        นายณัฐพล ราชแก้ว                                                                             พี

    43        นายนาวี เทพลักษณ์                                                                             วี

    44        นายปรินทร หวัดเพชร                                                                          บอล

14 มีนาคม 2565

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

1.1 หุ่นยนต์อเนกประสงค์

หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น “แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด งานตรวจสอบต่างๆโดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม

1.2 หุ่นยนต์เชื่อม

หนึ่งในหุ่นยนต์สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้สูง

โดยหุ่นยนต์เชื่อมจะมีลักษณะเป็นแขนหุ่นที่มีส่วนปลายเป็นหัวเชื่อมเหล็ก มักทำงานร่วมกับระบบสายพานที่คอยส่งวัสดุเข้ามาในระยะ แขนหุ่นจะทำการเชื่อมวัสดุตามจุดต่างๆ โดยอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์

ตัวอย่างเช่น Fanuc ARC Welding Robot ที่มีการออกแบบมาเพื่อการเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถรับน้ำหน้กได้ถึง 20 กก. และมีระยะเอื้อม 2 เมตร ใช้ได้ทั้งการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมเลเซอร์ บัดกรี หรืองานตัดประเภทต่างๆ

1.3 หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ

หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเป็นหุ่นยนต์ที่นิยมใช้ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโกดังต่างๆ โดยเฉพาะ Amazon และ Alibaba ที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าในโรงงานของตนเอง แทนที่จะใช้มนุษย์ในการทำงาน

ซึ่งหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเองก็มีการงานหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามโรงงานและโกดังต่างๆ โดยมีหน้าที่หลักคือ

  • จัดเรียงสินค้าลงกล่อง
  • จัดทำ Packaging สินค้า
  • จัดเรียงกล่องสินค้าลงบนพาเลท
  • ยกพาเลทไปตามจุดต่างๆของโรงงาน
  • ขนส่งวัสดุต่างๆในโรงงาน

แน่นอนว่าหุ่นยนต์ประเภทนี้หลายรุ่นจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในพื้นที่ทำงานของตัวเอง เพื่อส่งต่อวัสดุหรือชิ้นงานให้กับมนุษย์หรือหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ นอกเหนือจากการเคลื่อนที่บนพื้นแล้ว ยังมีความคิดที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในรูปแบบโดรน ขึ้นเพื่อทำการขนส่งสินค้าในโรงงานด้วยการบินอีกด้วย

1.4 หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัย

ยิ่งอุตสาหกรรมพัฒนามากขึ้น ความปลอดภัยก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นตาม งานหลายงานมีความเสี่ยงเกินกว่าจะให้มนุษย์ดำเนินการหรืออยู่ในจุดที่คนทั่วไปยากจะเข้าถึง ด้วยเหตุผลเหล่านั้นทำให้หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัยโรงงานเข้ามามีบทบาท เช่น

  • ตรวจสอบสารพิษที่รั่วไหลในโรงงาน เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถเข้าไปในที่ๆ คนเข้าไม่ถึงโดยไม่ต้องสวมชุดป้องกันได้
  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ด้วยอินฟาเรดหรืออุปกรณ์ตรวจจับอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วไหล
  • ตรวจสอบปล่องควันหรือจุดที่อยู่สูง ทำให้ไม่ต้องมีการปิดโรงงานทั้งโรงเพื่อซ่อมบำรุง
  • ตรวจสอบวัสดุในโรงงาน เช่น หุ่นยนต์ตรวจสอบความหนาของถังสารเคมี  

ซึ่งหุ่นยนต์ทั้งหมดก็มีตั้งแต่ทำงานแบบอัตโนมัติ ไปจนถึงทำงานโดยมีคนควบคุมอยู่เบื้องหลัง

1.5 หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติก

หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติกมีหน้าที่ในการหยิบจับ ฉีดขึ้นรูปพลาสติกตามการใช้งาน ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ท่อพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไปจนถึงภาชนะ จาน ชาม ช้อน ส้อม

นอกจากจะสามารถทำงานทุกอย่างได้แบบอัตโนมัติตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการแล้ว การใช้หุ่นยนต์เพื่อขึ้นรูปพลาสติกยังมีความแม่นยำและสามารถทำงานละเอียดอ่อนได้เหนือกว่ามนุษย์ปกติ ซึ่งการติดตั้งหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมนี้จะใช้พื้นที่น้อย และอยู่กับที่ เน้นด้านการใช้สายพานหรือแขนจับเพื่อส่งวัสดุเข้า-ออก มากกว่า

ลิ้งก์วิดีโอตัวอย่าง https://www.sumipol.com/knowledge/5-robot-trends-2022/ 

2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

    แม้อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง แต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก และหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานกำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน อิเล็กทรอนิกส์ และการตกแต่งภายใน

สำหรับ OEM ระดับ Tier 1 ไปจนถึงผู้รับเหมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน โคบอทที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่าได้ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอให้กับส่วนประกอบย่อย เกณฑ์การวัด และระบบการทำงาน โคบอทที่ปรับใช้และติดตั้งใหม่ได้ง่ายสามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

โคบอทสามารถทำงานเคียงข้างมนุษย์ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยให้พนักงานทำงานในกระบวนการต่างๆ ในสายการผลิตได้มากขึ้นในพื้นที่การทำงานเดียวกัน ในขณะที่ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมนั้นทำให้คุณต้องเลือกระหว่างใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย โคบอทกลับช่วยให้ผู้ผลิตเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติได้ในบางหน้าที่และยังคืนทุนได้เร็วอีกด้วย

ลิงก์วิดีโอตัวอย่าง https://www.universal-robots.com/th/case-stories/continental/

3.หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด

    คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. เปิดตัว “หุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างระเบิดแสวงเครื่อง” ที่คิดค้น พัฒนาและจัดสร้างด้วยฝีมืออาจารย์-นักศึกษาของคณะ ฝีมือคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีทีมเก็บกู้วัตถุระเบิด หรืออีโอดี สพ.ทบ.มาร่วมโชว์สาธิตการใช้งาน ยืนยันประสิทธิภาพดีเยี่ยมกว่าของต่างประเทศ แต่สนนราคาถูกกว่า 10 เท่า ต้นทุนเฉลี่ยเพียงตัวละ 2.5 ล้านบาท ส่งมอบ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า นำไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 4 ตัว

รศ.ดร.อุดมเกียรติกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ มจพ. กฟผ. สกอ. และ สพ.ทบ. ในการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการยิงทำลายวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง โดยระบบ “วอเตอร์แคนนอน” หรือปืนยิงน้ำแรงดันสูง ที่ผ่านมา เราต้องจัดหาจัดซื้อจากต่างประเทศ โดยหุ่นยนต์จากต่างประเทศมีราคาต่อชุดนับสิบล้านบาท ในขณะที่หุ่นยนต์ดังกล่าว ทาง มจพ.ได้คิดค้นและพัฒนาจนมีขีดความสามารถในการใช้งานได้เทียบเท่าหรืออาจจะดีกว่าของนอก แต่ราคาถูกกว่ากันเกือบสิบเท่า คือต้นทุนผลิตเองจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านบาทเท่านั้น ด้าน ผศ.มานพ หน.โครงการกล่าวว่า ทาง มจพ.ได้พัฒนาระบบ ปืนยิงน้ำแรงดันสูง โดยออกแบบใหม่เป็นปืนยิงน้ำแรงดันสูงชนิดไร้แรงสะท้อน มีการจดสิทธิบัตรเรียบร้อย ทำให้การใช้งานมีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากกว่าของนอก

ด้าน พ.ท.ยุทธศิลป์กล่าวระหว่างการสาธิตการใช้งานว่า หุ่นยนต์ที่ มจพ.สร้างขึ้นรวม 4 ตัว ทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้นำไปใช้งานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาระยะหนึ่งแล้ว สามารถใช้งานได้จริง และเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม ช่วยลดอันตรายให้กับชุดอีโอดีในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก

ลิงก์วิดีโอตัวอย่าง https://www.youtube.com/watch?v=yby---QIsMo

4.หุ่นยนต์อัจฉริยะ

    มาซาโยชิ ซน ซีอีโอ SoftBank Group เผยระหว่างการประชุมออนไลน์ SoftBank World 2021 ว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่น เตรียมทุ่มสรรพกำลังกับหุ่นยนต์เต็มที่ในขณะที่หุ่นยนต์ Pepper กำลังจะโบกมือลาซนกล่าวว่ากองทุน Vision Fund สำหรับลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพของ SoftBank เข้าไปลงทุนในบริษัทที่กำลังพัฒนาเครื่องจักรที่เสริมประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งล้ำกว่าหุ่นยนต์ Pepper ที่สามารถเต้นและทักทายผู้คนได้“หลายปีก่อนเรามีอีเว้นต์ยิ่งใหญ่เปิดตัว Pepper แต่ตอนนี้มันกำลังอับอาย” ซนกล่าวขณะยืนอยู่หน้าหุ่นยนต์ Pepper ที่ถูกปิดสวิตช์ ขณะนี้ซีอีโอของ SoftBank กำลังมองไปยังอนาคตของหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ไม่เพียงจะมาแทนที่การผลิต แรงงานในอุตสาหกรรม แต่จะมาแทนที่แรงงานคนทั้งหมดระหว่างที่ซนพูดจะปรากฏวิดีโอหุ่นยนต์หน้าตาเหมือนมนุษย์ (humanoid robot) ที่กำลังวิ่งและเต้น รวมทั้งหุ่นยนต์รูปทรงกระป๋องที่กำลังทำความสะอาดพื้นอย่างไรก็ดี ซนไม่ได้เอ่ยถึงการลงทุนใหม่หรือราคาตลาดของหุ่นยนต์ รวมทั้งไม่แตะประเด็นการยุติการลงทุนของ SoftBank ในจีนซึ่งทางการกำลังเข้ามาควบคุมตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีอย่างเข็มงวดเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา SoftBank ขายหุ้น 80% ของบริษัท Boston Dynamics ที่ผลิตหุ่นยนต์สุนัข Spot ให้กับบริษัท Hyundai Motor Group ของเกาหลีใต้มูลค่า 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐ 1 เดือนต่อมา สำนักข่าว Reuters รายงานว่า SoftBank จะยุติการขายหุ่นยนต์ Pepper ภายในสิ้นปี 2023 หลังจากเปิดตัวเมื่อปี 2014ซนยังกล่าวอีกว่า SoftBank ยังคงร่วมงานกับ Boston Dynamics และหลังจากหุ่นยนต์ Pepper จะตามมาด้วยหุ่นยนต์อัจฉริยะรุ่นใหม่ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มขึ้น หรือที่เรียกว่า "smabo" ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งมาจากคำว่า "smart" ที่แปลว่าอัจฉริยะ และ "robot" ที่แปลว่าหุ่นยนต์ซนเผยอีกว่า หุ่นยนต์อัจฉริยะเหล่านี้จะเข้ามาช่วยปฏิวัติวงการแรงงานคน โดยหุ่นยนต์อัจฉริยะ 1 ตัวสามารถทำงานได้มากกว่ามนุษย์ 10 เท่าต่อวัน ซึ่งในญี่ปุ่นหมายความว่า หุ่นยนต์ 100 ล้านตัวสามารถทำงานได้เท่ากับคน 1,000 ล้านคน

ลิงก์วิดีโอตัวอย่าง https://www.youtube.com/watch?v=zSsYwYwu7LY





03 มีนาคม 2565

 


               เครื่องจักร NC
ความหมายของ NC
NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว.
ตัวอย่างกาทำงานของ CN


เครื่องจักร CNC


CNC ย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึง การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบอิเลคทรอนิกส์ จะทำการประมวลผล และ สั่งการเพื่อให้เครื่องจักรทำงาน หรือ เกิดการเคลื่อนที่จากชุดคำสั่งต่าง ๆ หรือ กระทำตามเงื่อนใขที่ถูกกำหนด
หลักการทำงาน ของ CNCการผลิตชิ้นงานจะถูกควบคุมการสั่งการด้วย Computer ประกอบด้วย ระยะของการเคลื่อนที่ต่างๆ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หัวกัด Print head ใน 3d Printer ซึ่งจะถูกคำนวณ และ สั่งการจากชุดคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นต้นจนสิ้นสุดการทำงาน  โดยชุดควบคุมจะได้รับข้อมูลขั้นตอนการทำงาน และ การสั่งการ จากโปรแกรม ที่เราเรียกว่า NC Code หรือ G code (Link) ที่เรารู้จักกัน ซึ่งต้องวางแผนทุกขั้นตอนก่อนทุกครั้ง และ สร้างเป็นโปรแกรม เพื่อให้ชุดควบคุมทำงานได้สำเร็จสำหรับแกนหมุนจะมีตั้งแต่  2 แกน – 12แกน สามารถทำงานได้ 2 มิติ ,และ 3มิติ  โดยทั่วไปจะ สร้างโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์ และ นำข้อมูลผ่าน Post processor จึงจะได้ NC-CODE มาใช้งาน วัสดุที่นำมาใช้กับ CNC เพื่อสร้างชิ้นงาน เช่น ไม้ , แผ่น Acrylic, พลาสติก, พลาสติกวิศวกรรม ,ทองเหลือง และ อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งชิ้นงานที่ได้จะเป็นงานในลักษณะ 2 มิติ หรือ 3 มิติ แล้วแต่กำหนด. ขึ้นอยู่กับขนาด และความสามารถของเครื่อง ที่มีความหลาหหลาย

ตัวอย่างกาทำงานของ CNC
มีข้อดีดังนี้:
① ลดจำนวนของเครื่องมือ, การประมวลผลส่วนที่ซับซ้อนของรูปร่างไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ซับซ้อน ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนรูปร่างและขนาดของชิ้นส่วนคุณจะต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมการประมวลผลชิ้นส่วนที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการปรับเปลี่ยน
② คุณภาพการประมวลผลมีเสถียรภาพความแม่นยำเครื่องจักรกลสูงความแม่นยำในการทำซ้ำสูงจะปรับการร้องของานฝีมือพันธุ์อื่น ๆ 
ข้อเสียของการใช้เครื่องจักร CNC 
คืออุปกรณ์เครื่องมือกลมีราคาแพงและต้องการให้บุคลากรในการบำรุงรักษามีระดับที่สูงขึ้น


เครื่องจักร DNC


ความหมายของ DNC

Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM 
คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

          SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ ทั้งเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดหรือเครื่องเก่าที่มีอายุใช้งานและถูกสร้างขึ้นมานานนับ 10 ปีแล้วก็ตาม
          SUPER-DNC ทำให้โรงงานไม่ว่าจะเป็นงานผลิตแม่พิมพ์ Mould, DIE, Punch Die หรือ Part Production ก็ตาม สามารถใช้เครื่องจักร และ NC Data ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันมีค่าของโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่โรงงานและองค์กร สร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดีและยังทำให้พนักงานทำงานได้สะดวกขึ้นเป็นการเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานให้มีความรักองค์กรและมุ่งมั่นในการสร้างผลงานที่ดีแก่องค์กรอีกด้วย
คุณลักษณะมาตรฐาน Standard Features of SUPER-DNC System
          1. การเรียกโปรแกรม NC Data ที่ต้องการ โดยรับส่งโดยตรงระหว่างเครื่องจักรกลระบบ CNC กับคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ (SUB Program Calling) โดยการเรียกโดยตรงที่หน้าเครื่องจักรกลระบบ CNC
          2. การให้บริการกระจายข้อมูลโปรแกรม NC Data ในแบบเครื่องข่ายโดยมี Server เป็นศูนย์กลางการติดต่อรับส่งข้อมูลโปรแกรม NC Data กับเครื่องจักรกลระบบ CNC ทุกเครื่องในเครือข่าย โดยมีสถานี Client Station ซึ่งเป็นสถานี Generate (สร้าง) หรือ INPUT หรือ EDIT ข้อมูลโปรแกรม NC Data เพื่อส่งเข้าสู่ Server กลางได้ (Client – Server Configuration System)
          3. การเริ่มกัดงานใหม่ต่อจากการกัดที่หยุดค้างไว้เดิม (Start Cutting from any program line) กรณีที่มีการหยุดกัดงานกลางคัน เช่น Tool สึกหรือ Tool แตก จำเป็นต้องหยุดค้างโปรแกรมไว้เพื่อเปลี่ยน Tool ใหม่ จากนั้น Software SUPER-DNC สามารถส่งต่อข้อมูลโปรแกรม NC Data ในบรรทัดต่อไปได้ โดยไม่ต้องเริ่มงานใหม่ทั้งหมด
          4. สามารถกำหนด Protocols พิเศษต่างๆ (เครื่องจักรเก่าๆ หรือที่ไม่แพร่หลายในตลาด) โปรแกรม SUPER-DNC สามารถติดต่อกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ที่มี Protocol ที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลายและกว้างขวาง (Special Protocols for CNC Machines)
          5. การทำงานแบบ Auto-Search สำหรับส่ง Sub Programs หลายๆ โปรแกรมเรียงไปตามลำดับไปยังเครื่องจักรเป้าหมาย
          6. OPTION การแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ (Notify User for Events such as cutting finish) เช่น เมื่อกัดงานเสร็จแล้ว หรือเกิดการหยุดกัดงานโดยไม่คาดคิด SUPER-DNC สามารถติดต่อด้วย Special GPRS Data modem เพื่อส่งแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile phone) ด้วย E-mail หรือ SMS Message ของผู้ใช้ได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ทราบและดำเนินการต่อไปได้

ตัวอย่างกาทำงานของ DNC








สายพานลำเลียงและ รถ agv

  สายพานลำเลียง ระบบสายพานลำเลียง คืออะไร ?             ระบบสายพานลำเลียง คือ เครื่องจักรที่ใช้ในการลำเลียงวัตถุจากจุดๆ หนึ่งไปยังจุดอื่นๆ ด...